สัญญาณสังเกตุ
ก่อนที่จะไปรู้ว่ามีสัญญาณอะไรบ้างเรามาทำความรู้จักกับโรคตับกันก่อนดีกว่า
โรคตับ คืออะไร
โรคตับเป็นคำนิยามอย่างกว้าง ๆ เกี่ยวกับความผิดปกติในการทำงานของตับ หรือเนื้อเยื่อตับเกิดความเสียหาย โรคตับจึงหมายถึงการที่ตับได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดแผลเป็นถาวร การเกิดพังผืดขึ้นในเนื้อตับ อาการเหล่านี้ล้วนส่งผลให้การทำงานของตับแย่ลง การผลิตโปรตีนช้าลง กรองและขับสารพิษในร่างกายได้ช้าลง ระบบไหลเวียนเลือดที่ส่งมาตับไหลได้ไม่สะดวก เมื่อระบบการทำงานของตับแปรปรวนอาจส่งผลให้เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้
อาการและความรุนแรงของโรค
โรคตับส่งผลร้ายแรงต่อการทำงานของตับ ปัจจุบันมีการจำแนกความรุนแรงและความเสียหายของโรคตับออกเป็น 4 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะก็จะส่งผลให้ตับมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงไปตามลำดับดังนี้
ระยะที่ 1 ตับอักเสบ ตับมีการตอบสนองต่อความผิดปกติในเนื้อเยื่อ ระยะนี้ตับจะพยายามกำจัดสารพิษ ต่อต้านเชื้อโรค และฟื้นฟูรักษาเนื้อเยื่อ โดยปกติหากเป็นการอักเสบเฉียบพลันเช่นการติดเชื้อเฉียบพลันจากไวรัสตับอักเสบ ตับมักจะรักษาตัวเองได้ แต่หากไม่สามารถรักษาตัวเองได้สำเร็จ จะก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังซึ่งอาจก่อให้เกิดพังผิดในตับได้
ระยะที่ 2 ตับมีพังผืด พังผืดในตับเกิดขึ้นจากแผลในเนื้อเยื่อตับที่เรื้อรังมากขึ้น ระยะนี้เป็นจุดเริ่มต้นสู่การเป็นโรคตับแข็ง ส่วนที่เป็นพังผืดจะลดการไหลเวียนขอบเลือดในตับ ทำให้ออกซิเจนและสารอาหารเข้าสู่ตับลดลง
ระยะที่ 3 ตับแข็ง ตับแข็งเป็นระยะที่พังผืดก่อตัวถาวรจนไม่สามารถรักษาตัวเองได้ ระยะนี้เป็นระยะที่เริ่มส่งผลต่อการทำงานของตับอย่างรุนแรงระยะที่ 4 ตับวาย ในระยะนี้ตับจะไม่สามารถทำหน้าได้ตามความต้องการของร่างกายอีกต่อไป เมื่อการทำงานของตับเริ่มเสื่อมลง ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ภาวะตับวายเรื้อรังเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป แต่ท้ายที่สุดแล้วอาจถึงแก่ชีวิตได้หากไม่มีการปลูกถ่ายตับ
5 สัญญาณสังเกตุของโรคตับ
1.อ่อนเพลีย เหนื่อย รู้สึกไม่ค่อยสบาย
หากมีความผิดปกติที่ตับหรือเป็นโรคตับที่ส่งผลกระทบต่อการกรองสารพิษออกจากเลือด อาจส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สบายตัว อย่างไรก็ตามอาการนี้เป็นอาการทั่วไปอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ
2.ภาวะผิวเหลืองตาเหลือง หรือ ดีซ่าน (Jaundice)
เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีสารบิลิรูบิน (bilirubin) มากกว่าปกติ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อตับมีปัญหาจนไม่สามารถขับสารบิลิรูบินได้อย่างปกติจะเกิดการสะสมต่างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งสารนี้เป็นสารที่มีสีเหลือง-ส้ม ทำให้เกิดและเนื้อเยื่อตาขาวมีสีเหลืองจนสังเกตได้
3.ปัสสาวะสีเข้ม
เมื่อปัสสาวะมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีส้มและผู้ป่วยอาจมีหรือไม่มีภาวะผิวเหลืองตาเหลืองด้วยก็ได้ อาการนี้เกิดจากสีของสารบิลิรูบิน (bilirubin) โดยปกติจะถูกขับออกจากร่างกายพร้อมกับน้ำดีที่ลำไส้ แต่หากตับทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ บิลิรูบินจะถูกขับออกมาพร้อมปัสสาวะทำให้ปัสสาวะมีสีเข้มกว่าปกติ
4.ท้องอืด รู้สึกว่ามีแก้สในกระเพาะบ่อย ๆ
โรคตับในระยะที่การทำงานของตับลดลงอาจส่งผลให้ร่างกายผลิตน้ำดีน้อยลง (ของเหลวที่ช่วยย่อยอาหาร) ซึ่งอาจทำให้ย่อยอาหารได้ไม่ดี มีอาการท้องอืด มีแก้สในกระเพาะอาหาร
5.คลื่นไส้อาเจียน
อาการคลื่นใส้อาเจียนเป็นอาการที่มีความรุนแรงทั้งมากและน้อย อาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือเป็นติด ๆ กัน มีสาเหตุหลายสาเหตุเช่น ตับอักเสบ การสะสมของพิษในร่างกาย เป็นต้น อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เป็นบ่อย ๆ อาจส่งผลต่อการรับประทานหรือดื่มน้ำน้อยลง ซึ่งอาจเสี่ยงภาวะขาดน้ำและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้
นอกจาก 5 อาการเหล่านี้แล้วยังอาจประสบอาการอื่น ๆ ตามประเภทของโรคตับที่เป็น บางอาการอาจดูคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ หากลองสังเกตดูแล้วพบอาการผิดปกติที่หาสาเหตุไม่ได้ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด