Bangpakok Hospital

ศูนย์ผ่าตัดโรคอ้วนและโดยการส่องกล้อง

        โรคอ้วนมาจากปัจจัยที่ซับซ้อน เป็นผลร่วมกันระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรม ฮอร์โมน การสันดาปของร่างกาย  และสิ่งแวดล้อม  ปัจจุบันประชากรโลกประสพกับโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น ทั่วโลกมีผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินอยู่ประมาณ 1.7 ล้านล้านคน ถือเป็นภาวะที่อันตรายต่อสุขภาพอย่างมากเพราะก่อให้เกิดโรคที่ร้ายแรงหลาย โรคตามมา เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง และเพิ่มอุบัติการณ์เกิดมะเร็งของมดลูก ลำไส้ใหญ่ และเต้านม

       คนที่เป็นโรคอ้วน นอกจากรูปร่างที่อุ้ยอ้าย อึดอัดแล้ว มักได้รับโรคอื่นๆคุกคามตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้อายุสั้นกว่าคนทั่วไปเป็นสองเท่า

       มีผู้ป่วยหลายคนที่พยายามจะลดความอ้วน หลายๆวิธี เช่น ออกกำลังกาย ลดอาหาร รับประทานยาลดความอ้วน แต่ก็ยังไม่สามารถลดความอ้วนได้ 

       การผ่าตัดลดความอ้วนจึงเป็นทางเลือกในการรักษาโรคอ้วนที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเหล่านี้ได้ หากการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการกินยาลดความอ้วนไม่ได้ผล หรือลดน้ำหนักได้แล้วกลับเกิดภาวะน้ำหนักเกินขึ้นมาใหม่
Bariatric หรือ weight loss surgery   
     เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคอ้วน ซึ่งเป็นวิธีการรักษาโรคอ้วนวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในต่าง ประเทศ ทั้งนี้เพราะให้ผลการรักษาที่ชัดเจน  

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด

        1. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าน้ำหนักตัวมาตรฐาน ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 40 กก./ตร.ม. ขึ้นไป

        2. ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) 35 กก./ตร.ม. ขึ้นไป ร่วมกับมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาการปวดข้อเนื่องจากรับน้ำหนักตัวมากเกินไป 

หมายเหตุ : body mass index (BMI) คือน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร ยกกำลังสอง

การผ่าตัดลดความอ้วน ที่นิยมมากๆ คือ วิธีที่ทำโดยใช้กล้องซึ่งมีทำมากอยู่ วิธีคือ

     วิธีที่ 1 การลดความอ้วนด้วยวิธีการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร(Gastric balloon) สำหรับใครที่อยากจะลดน้ำหนัก ลดความอ้วน หรือควบคุมน้ำหนักแต่ยังตามใจปากอยู่ ควบคุมอาหารไม่ได้และไม่อยากผ่าตัด ปัญหานี้จะหมดไปด้วยนวัตกรรมใหม่แห่งการลดความอ้วนได้แก่ การลดความอ้วนด้วยวิธีการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ซึ่งตัวบอลลูนที่ใส่ลงในกระเพาะอาหารจะทำให้รู้สึกอิ่มตลอดเวลาและจะทำให้รับประทานอาหารได้ลดน้อยลงกว่าเดิม มีภาวะแทรกซ้อนน้อยโดยเฉลี่ยสามารถลดน้ำหนักได้ถึง 24 กิโลกรัม ภายใน 1 ปี วิธีนี้มีมานานแล้วและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ

ข้อดี

• ไม่ต้องผ่าตัด
• เป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงน้อย
• ไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาลหลังทำสามารถกลับไปพักที่บ้านได้
• สามารถทำซ้ำได้อีกถ้าน้ำหนักกลับมาเพิ่มอีกครั้งหลังจากที่ทำครั้งแรก
• สามารถเพิ่มขนาดของบอลลูนได้ถ้าผู้ป่วยต้องการ
• สามารถลดน้ำหนักได้โดยเฉลี่ย 24 กิโลกรัม/ปี
ความเสี่ยง
• การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ulcer ‹1%)
• คลื่นไส้ อาเจียน อาการไม่สุขสบายท้องหลังจากใส่บอลลูน (โดยส่วนใหญ่)
• มีภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร (Bleeding‹1%)
• การเกิดภาวะอุดตันในกระเพาะอาหาร (obstruction‹1%)
• ผนังกระเพาะอาหารทะลุ (Perforation‹1%)  
ด้วยวิวัฒนาการเทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันมีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้วิธีการลดน้ำหนักในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องหนักอกหนักใจอีกต่อไป

     วิธีที่ 2 การผ่าตัดลดขนาดของกระเพาะลง (Sleeve Gastrectomy) โดยตัดกระเพาะออกไปประมาณ 85% ทำให้ทานอาหารได้น้อยลงเพราะตัดกระเพาะส่วนที่ผลิต Hormone ที่ทำให้เกิดการหิวออกไป  เป็นการผ่าตัดที่เป็นที่นิยมมากในขณะนี้  เพราะไม่ต้องตัดต่อกับลำไส้เล็กและผู้ป่วยจะไม่เป็นโรคขาดสารอาหารจากการ ผ่าตัดนี้ ผู้ป่วยจะสามารถลดน้ำหนักได้ถึง 40-60 % ของน้ำหนักเดิมในปีแรกหลังผ่าตัด และเป็นการรักษาโรคข้างเคียง เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดันไปในตัวด้วย ไม่มีข้อจำกัด เด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปก็สามารถผ่าตัดด้วยวิธีนี้ได้

     วิธีที่ 3  การผ่าตัดลดความอ้วนแบบใช้เข็มขัดรัดกระเพาะอาหาร (Gastric Banding) โดยใช้วิธีการเจาะแผลเล็กๆที่หน้าท้อง ใช้อุปกรณ์ลักษณะคล้ายเข็ดขัดสอดเข้าไปรัดกระเพาะอาหารตอนบน ทำให้กระเพาะอาหารมีขนาดเล็กลง รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น เป็นวิธีการผ่าตัดที่ได้ผลดี เมื่อน้ำหนักตัวคงที่ สามารถกลับมาแก้ไขนำสายรัดกระเพาะออกได้ในภายหลัง

Adjustable gastric banding (AGB) หรือ astric Banding   
     คือการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร โดยใช้ที่รัดกระเพาะ ที่ปรับเปลี่ยนขนาดกระเพาะ ได้ตามความต้องการ เครื่องนี้ออกแบบมาเพื่อใช้กับวิธีผ่าตัดส่องกล้อง ทำด้วยซิลิโคนที่มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 อุปกรณ์คล้ายเข็มขัดนี้ จะถูกรัด เข้ากับส่วนต้นของกระเพาะอาหาร, ส่วนที่ 2 เป็นสายยาง ซึ่งเป็นท่อติดต่อ ระหว่างส่วนที่ 1 กับส่วนที่ 3, สำหรับส่วนที่ 3 เป็นกระเปาะสามารถ ปรับได้โดยใช้เข็มแทงเพื่อดูดน้ำเกลือ ออกจากภายนอกเพื่อปรับให้เข็มขัด(ส่วนที่ 1)โป่งหรือแฟบ ส่วนนี้ใช้วางอยู่ใต้ผิวหนังหน้าท้อง

     วิธีที่ 4 การผ่าตัดลดความอ้วนแบบตัดต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก (Gastric Bypass) ด้วยวิธีการส่องกล้องเข้าไปตัดเย็บ

Roux-en-Y gastric bypass (RYGB) หรือ Gastric Bypass
     ใช้ตลับลวดแบ่งกระเพาะอาหารเป็น 2 ส่วน กระเปาะกระเพาะใหม่จะมีขนาดเล็กทำให้รับอาหารได้ไม่มาก จาก นั้น ศัลยแพทย์จะเอาลำไส้เล็กลัดคิวหรืออ้อมผ่าน (bypass)  โดยมาต่อเข้า กับกระเปาะกระเพาะ อาหาร ที่มี ขนาดเล็กดังกล่าว ทำให้อาหารไม่ผ่านกระเพาะอาหารกระเปาะใหญ่ ผลก็คืออาหาร และแคลอรีจะดูด  ซึม เข้าสู่ร่างกายลดลง
 

ข้อดี ของการผ่าตัดเพื่อการลดน้ำหนักโดยการใช้กล้องนี้ 
     คือบาดแผลเล็ก เเผลมีการติดเชื้อ น้อย มีความเจ็บปวดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วภายใน 2 -3 วันเท่านั้น เเละสามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้ในระยะเวลาอันสั้น

ขั้นตอนการผ่าตัด
     การผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง (laparoscopic technique) โดยเย็บส่วนของกระเพาะอาหารให้มีขนาดประมาณ 15-30 มิลลิลิตร จากนั้นจึงนำมาต่อเข้ากับลำไส้เล็ก ด้วยวิธีการผ่าตัดนี้ผู้ป่วยจะมีรอยแผลผ่าเล็กๆ ที่หน้าท้อง 5 รอย ขนาดของแผลประมาณ  0.5-2 เซนติเมตร และจะมีอาการเจ็บแผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด

    • โดยทั่วไปผู้ป่วยจะพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 3 วัน แต่ขึ้นกับความสมบูรณ์ของร่างกายของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด หากผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดหรือต้องเข้ารับการผ่าตัดเพิ่มเติม อาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น

    • หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการควบคุมอาหารทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยจะได้รับแผนการรับประทาน  อาหารจากแพทย์และต้องเข้ารับคำปรึกษาจากนักโภชนาการ โดยทั่วไปแล้วควรปฏิบัติดังนี้
    • หลัง 4 สัปดาห์แรก ผู้ป่วยจะรับประทานได้แต่อาหารเหลว เช่น ซุปใส ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่ไม่เติมน้ำตาลและไม่อัดลม น้ำผัก น้ำผลไม้ โยเกิร์ต แต่ผู้ป่วยจะต้องจำกัดปริมาณสารน้ำที่ได้รับในแต่ละครั้ง และให้รับประทานครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง

    • ใน 2 สัปดาห์ถัดมา ผู้ป่วยจะได้รับการจำกัดให้รับประทานอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ เช่น ข้าวต้ม หลังจากนั้นจะปรับเปลี่ยนเป็นอาหารปกติ แต่ควรรับประทานในปริมาณน้อยๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียดและนานกว่าปกติก่อนกลืน และไม่ควรดื่มน้ำพร้อมกับการรับประทานอาหาร ควรดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร 15-30 นาที 

    • ผู้ป่วยจะได้รับรายละเอียดผลการผ่าตัดในภายหลัง และจะต้องกลับมาพบแพทย์อีกครั้งเพื่อตรวจเช็กหากจำเป็น โดยปกติแล้วแพทย์จะทำการนัดให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจเป็นระยะๆ ไปโปรดตระหนักว่า รูปแบบการใช้ชีวิตและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น เป็นเรื่องสำคัญมากต่อการที่จะประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักการผ่าตัดโรค อ้วนนั้นเป็นหัตถการที่ต้องอาศัยการควบคุมหลังจากนั้น

แนวทางการรับประทานอาหาร
     1. รับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน และจำกัดอาหารว่างที่ไม่จำเป็นระหว่างมื้อ
     การลดน้ำหนักจะประสบความสำเร็จหรือไม่  ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณรับประทาน อาหารว่างที่ไม่มีประโยชน์ระหว่างมื้อ (เช่น ขนมกรุบกรอบ ขนมอบต่างๆ ฯลฯ) หรือการรับประทานบ่อยครั้ง จะทำให้การลดน้ำหนักไม่ประสบความสำเร็จ และทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้รับปริมาณแคลอรี่มากเกินความจำเป็น
     2. รับประทานอาหารช้าๆและเคี้ยวให้ละเอียดเหลว
     การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดจะทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ การเคี้ยวให้ละเอียดเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องละเอียดจนเหลวเท่านั้น และควรตัดอาหารให้เป็นชิ้นเล็กๆก่อนรับประทาน  หรืออาจจะหยุดพัก 1 นาทีก่อนรับประทานคำต่อไป และควรใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีในการรับประทานอาหารต่อมื้อ
     3. หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาล
     ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลปรากฏเป็นส่วนประกอบ 3 อันดับแรกบนฉลาก จำนวนกรัมที่ระบุบนฉลากนั้นระบุว่าเป็นน้ำตาลตามธรรมชาติหรือน้ำตาลที่เติม เข้าไป ดังนั้น การอ่านฉลากอาหารเป็นเรื่องจำเป็น ทำให้ทราบว่า น้ำตาลในอาหารชนิดนั้นเป็นน้ำตาลแบบใด และ ควรจำกัดปริมาณน้ำตาลให้เหลือเพียง 15 กรัม หรือน้อยกว่านั้น ต่อการรับประทานหนึ่งมื้อ เพื่อช่วยควบคุมแคลอรี่ในอาหาร 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
เปิดทำการทุกวัน  เวลา 08:00 - 20:00 น. 
ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 1  โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : 02–109–9111 ต่อ 10164 , 10165
โทรสาร : 02–877–2222, Call Center : 1745

บริการ & หมอเฉพาะทาง

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.